กิจกรรมข่าวสาร NEW & E-vent

เข้าร่วมประชุม วางแผน STAKEHOLDER ...
13 มิถุนายน 2559 ประธานสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุม วางแผน Stakeholders meeting on Fisheries...กิจกรรมการฝึกอบรม (TRAINING)

หลักสูตร ที่ปรึกษาด้านแรงงานสัมพันธ์

หลักสูตร ที่ปรึกษาด้านแรงงานสัมพันธ์

หลักสูตร ที่ปรึกษาด้านแรงงานสัมพันธ์
- เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างธุรกิจในสาขาต่างๆ
- เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการภาคธุรกิจเอกชนและภาครัฐ
- เพื่อส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
- เพื่อส่งเสริมการศึกษาภาคธุรกิจเอกชนและสนับสนุนให้มีการจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิผล
สืบเนื่องสององค์การหลักของ ผู้ประกอบการค้าและผู้ประกอบอุตสาหกรรมในประเทศไทยคือหอการค้าไทยและสมาคมอุตสาหกรรมไทย ได้มีความเห็นร่วมกันว่า สมควรที่จะต้องจัดตั้งสำนักงานทางวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรมให้ทำหน้าที่เป็นองค์กรสนับสนุนด้านวิชาการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหอการค้าไทยและสมาคมอุตสาหกรรมไทย ในการดำเนินงานเพื่อบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และจากมติของที่ประชุมร่วมของ หอการค้าไทยและสมาคมอุตสาหกรรมไทย ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2517 จึงมีการก่อตั้งของสำนักงานทางวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยกรรมการบริหารเป็นตัวแทนจากทั้งสองสถาบัน กำหนดวัตถุประสงค์ของสำนักงานทางวิชาการฯ ไว้ดังต่อไปนี้
- เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการสาขาต่างๆ
- เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและความร่วมมืออันดีระหว่างผู้ประกอบการภาคเอกชนและรัฐบาล
- เพื่อส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์
- เพื่อส่งเสริมการวิจัยเกี่ยวกับการประกอบการของภาคเอกชานและวิทยาการทางการจัดการ
การดำเนินงานของสำนักงานทางวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรมเป็นไปด้วยดีภายใต้การบริหารงานของคณะกรรมการบริหารซึ่งเป็นตัวแทนของหอการค้าไทยและสมาคมอุตสาหกรรมไทย จน กระทั่งสมาชิกของสำนักงานทางวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรม ประสบปัญหาความยุ่งยากด้านแรงงานเนื่องจากมีการยื่นข้อเรียกร้องและนัดหยุด งานบ่อยครั้งส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการและเศรษฐกิจของประเทศ ประกอบกับได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 กำหนด หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับแรงงานสัมพันธ์เอาไว้เพื่อแก้ปัญหาทางด้าน แรงงานโดยเฉพาะได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรของฝ่ายลูกจ้างและ องค์การของฝ่ายนายจ้าง ได้แก่ สหภาพ แรงงานและสหพันธ์แรงงาน กับสมาคมนายจ้างและสหพันธ์นายจ้าง เพื่อใช้เป็นองค์กรหรือสถาบันที่เป็นกลไกในการเจรจาต่อรองเพื่อหาข้อยุติของ ข้อพิพาทแรงงาน เป็นการบรรเทาปัญหาการเผชิญหน้ากันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเนื่องจากใช้ องค์การของแต่ละฝ่ายมาเจรจาต่อรองกัน
ดังนั้นในการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิชาการธุรกิจและ อุตสาหกรรมครั้งที่ 1/2518 ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2518 ที่ประชุมจึงมีมติให้ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้งสมาคมนายจ้างต่างๆขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 โดย ให้สำนักวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรมทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการกลางของ สมาคมนายจ้างต่างๆซึ่งที่ประชุมได้มีเหตุผลในการลงมติดังต่อไปนี้
- เพื่อเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายซึ่งระบุให้มีการจัดตั้งสมาคมนายจ้างได้
- เพื่อให้การเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างได้กระทำในรูปขององค์กร ทั้งนี้ เพราะการเจรจาต่อรองกระทำโดยผ่านองค์กร โดยมีผู้แทนของแต่ละฝ่าย กล่าวคือ ผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้าง ซึ่งมาจากองค์กรของฝ่ายตนมาร่วมเจรจา
- เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ทั้งนี้ เพราะการเจรจาต่อรองกระทำโดยผ่านองค์กรของนายจ้างและลูกจ้าง จะทำให้ลดการเผชิญหน้ากันโดยมีสหภาพแรงงานกับสมาคมนายจ้างส่งผู้แทนมาทำการ เจรจาต่อรองกัน
- เพื่อให้การเจรจาต่อรองมีน้ำหนักและแก้ปัญหาแรงงานได้อย่างจริงจัง เพราะการเจราจาในรูปของสมาคมนายจ้างกับสหภาพแรงงานจะทำให้ได้รับความเชื่อ ถือมากกว่านายจ้างทำการเจรจาเป็นรายบุคคลด้วยตนเอง
จากมติที่ประชุมดังกล่าว จึงได้มีการเริ่มดำเนินการก่อตั้งสมาคมนายจ้างต่างๆขึ้น โดยสำนักวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรมเป็นผู้ประสานงานในการดำเนินการก่อตั้ง และจดทะเบียนตามกฎหมายโดยเริ่มต้นด้วยการจดทะเบียนสมาคมนายจ้างเครื่องใช้ ไฟฟ้า สมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ สมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมห้องเย็น สมาคม อุตสาหกรรมสิ่งทอไทย สมาคมนายจ้างช่างเหมาไทย และยังมีสมาคมนายจ้างอื่นๆ ดำเนินการก่อตั้งและจดทะเบียนที่สำนักงานทะเบียนกลาง ได้แก่สมาคมนายจ้างโรงแรมกรุงเทพฯ สมาคมนายจ้างโรงแรมพัทยา สมาคมนายจ้างเจ้าของเรือขนส่งทางน้ำ สมาคมนายจ้างร้านตัดเสื้อแห่งประเทศไทย และสมาคมนายจ้างเวชภัณฑ์ สมาคมนายจ้างต่างๆ ได้ดำเนินกิจการ ภายใต้ขอบเขตวัตถุประสงค์ของบทบัญญัติของพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 การก่อตั้งสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย เริ่มขึ้นเมื่อสมาคมนายจ้างต่างๆ ที่ก่อตั้งขึ้นแล้วนั้นได้มาประชุมกันเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ.2519 เวลา 10.00 น. ณ ห้องหมิง โรงแรมอินทรา รีเย่นต์ ประตูน้ำ กรุงเทพมหานคร ที่ประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์ให้จัดตั้ง สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยขึ้น และมอบหมายให้สำนักวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรมทำหน้าที่เป็นสำนักเลขาธิการ ของสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยต่อไป สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาในขณะนั้นมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเหมือนกับสมาคมนายจ้างหรือสหพันธ์นายจ้าง เพราะไม่มีกฎหมายใดๆรองรับหรือบังคับให้จดทะเบียน แต่เมื่อมีการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในวันที่ 6 ตุลาคม 2519 คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินได้มิคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 46 ลงวันที่ 21 ตุลาคม 2519 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 กำหนด ให้สภาองค์การนายจ้างต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้จดทะเบียน จึงได้จัดประชุมเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2519 ที่ประชุมมีมติให้จดทะเบียนสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยโดยได้มอบหมายให้ ร.ต.ท.ชาญ มนูธรรม เป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียน และได้จดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2520 ได้หมายเลขทะเบียนที่ ก.ธ.1 ผู้เริ่มก่อการในการจดทะเบียน สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ประกอบด้วยผู้แทนสมาคมนายจ้างต่างๆที่เป็นสมาชิกสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยจำนวน 7 นาย ดังนี้
- นายอบ วสุรัตน์ ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างเวชภัณฑ์
- ร.ต.ท.ชาญ มนูธรรม ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างเครื่องใช้ไฟฟ้า
- ร.ท.วันชัย บูลกุล ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างโรงแรมพัทยา
- นายรังษี ชีวเวช ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างเจ้าของเรือขนส่งทางน้ำ
- นายแพทย์ชัยยุทธ กรรณสูต ประธานกรรมการนายจ้างช่างเหมาไทย
- นายสุจินต์ เบญจรงคกุล ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างโรงแรมกรุงเทพฯ
- นายวัลลภ ลิ้มปิติ ประธานกรรมการสมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ
สมาชิกสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทยประกอบด้วยสมาคมนายจ้างต่างๆที่ได้ก่อตั้งขึ้นจำนวน 10 แห่ง และสหพันธ์นายจ้างจำนวน 1 แห่ง นอกจากนี้ ยังมีสถานประกอบกิจการต่างๆ ที่ยังมิได้รวมตัวกันก่อตั้งสมาคมนายจ้างขึ้นเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบผู้ให้การสนับสนุนด้วย โดยโอนมาจากสำนักวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรมเดิมจำนวน 108 สถานประกอบกิจการสมาคมนายจ้างและสหพันธ์นายจ้างที่เป็นสมาชิกมาตั้งแต่เริ่มแรกมีดังต่อไปนี้
- สมาคมนายจ้างเครื่องใช้ไฟฟ้า
- สมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมเหล็กและโลหะ
- สมาคมนายจ้างเวชภัณฑ์
- สมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย
- สมาคมนายจ้างช่างเหมาไทย
- สมาคมนายจ้างอุตสาหกรรมห้องเย็น
- สมาคมนายจ้างร้านตัดเสื้อแห่งประเทศไทย
- สมาคมนายจ้างโรงแรมกรุงเทพฯ
- สมาคมนายจ้างโรงแรมพัทยา
- สมาคมนายจ้างเจ้าของเรือขนส่งทางน้ำประเทศไทย
สหพันธ์นายจ้างโรงแรมแห่งประเทศไทย
จ้าหน้าที่ประจำผู้ปฏิบัติงานของสำนักเลขาธิการสภาองค์การนายจ้างแห่งประทศไทยในขณะนั้น ได้แก่ เจ้า หน้าที่ของสำนักวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรม บุคคลที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินการก่อตั้งสภาองค์การนายจ้างแห่ง ประเทศไทยอีกคนหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ดำเนินงานและประสานงานกับบุคคลต่างๆ ตั้งแต่ สมาชิก คณะกรรมการ ส่วนราชการต่างๆ องค์กร และบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจนกระทั่งการก่อตั้งสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย เป็นผลสำเร็จขึ้นมาได้ก็คือ นายสุพันธ์ มุ่งวิชา ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักวิชาการธุรกิจและอุตสาหกรรมในขณะนั้น คณะกรรมการชุดแรกของสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย ได้ปฏิบัติภาระหน้าที่ต่อเนื่องมาด้วยดีและได้มีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ ตามวาระการดำรงตำแหน่ง ซึ่งเป็นไปตามข้อบังคับของสภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง มีคณะกรรมการเข้าดำรงตำแหน่ง จำนวน 12 ชุด โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ ดังต่อไปนี้
- นายอบ วสุรัตน์ 2520 -2522
- ร.ต.ท. ชาญ มนูธรรม 2522 -2524
- นายบรรเจิด ชลวิจารณ์ 2524 -2526
- นายบรรเจิด ชลวิจารณ์ 2526 -2528
- นายอุดม วิทยะสิรินันท์ 2528 -2530
- นายอุดม วิทยะสิรินันท์ 2530 -2532
- นายจิรายุทธ์ วสุรัตน์ 2532 -2534
- นายจิรายุทธ์ วสุรัตน์ 2534 -2536
- ดร.ทิวา ธเนศวร 2536 -2538
- นายอนันตชัย คุณานันทกุล 2538-2546
- นายจิตร เต็มเจริญสุข 2546 - 2550
- นายอนันตชัย คุณานันทกุล 2550 - 2558
- นายเอกสิทธิ์ คุณานันทกุล 2558 - ปัจจุบัน
สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย (Employers' Confederation of Thailand ) เป็นสภาองค์การนายจ้างเพียงองค์การเดียวในประเทศไทย ที่เป็นภาคีสมาชิกองค์การนายจ้างระหว่างประเทศ (International Organization of Employers) เป็นตัวแทนนายจ้างของประเทศไทยในการทำงานร่วมกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) ภารกิจหลัก ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในด้านต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีแนวปฏิบัติในการดำเนินงานที่ดี และเพิ่มพูนประสิทธิภาพ ความสามารถในการแข่งขัน ควบคู่ไปกับการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง ให้บริการสนับสนุนการดำเนินกิจการของนายจ้างไทย ในด้านต่างๆ ได้แก่ คำปรึกษาทางธุรกิจ มาตรฐานแรงงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการจัดหลักสูตรการพัฒนาและฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องให้แก่บริษัทสมาชิก ส่งเสริมความเข้าใจและประสานความร่วมมืออันดีระหว่างภาครัฐและเอกชน ดำเนินบทบาทเชิงรุก เพื่อสนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกันแบบไตรภาคี ระหว่าง รัฐบาล นายจ้างและลูกจ้างอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ส่ง เสริมและขยายเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงาน/องค์กรระหว่างประเทศ รวมถึงการแลกเปลี่ยน และเผยแพร่ศาสตร์การบริหารและจัดการธุรกิจ การพัฒนามาตรฐานแรงงานในระดับสากล ส่งเสริมและปลูกฝังค่านิยมธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน จัดหลักสูตรฝึกอบรมที่ทันสมัยและตอบสนองความต้องการด้านการบริหารจัดการองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ เป็นตัวแทนของนายจ้างไทยในการเสนอความคิดเห็นทั้งเชิงนโยบายและการปฏิบัติในเวที ระดับชาติและนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเป็นตัวแทนฝ่ายนายจ้างและในคณะผู้ประศาสน์การ ในการประชุมสามัญประจำปีขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ